Service Profile

Service Profile
  หน่วยงานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
.............................
 บริบท (Context)
หน้าที่และเป้าหมาย (purpose)
ให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและเคลื่อนย้ายสิ่งของ ตามมาตรฐานการเคลื่อนย้าย  เพื่อให้เกิดความปลอดภัย  และพึงพอใจผู้รับบริการ 

ขอบเขตการให้บริการ (Scope of Service):
ศักยภาพ
              ให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย  ด้วยการนำส่ง/รถเข็นนั่งและเปลนอนในโรงพยาบาลตลอด  24  ชั่วโมง
-               บริการรับส่งเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์แก่หน่วยงานต่าง  ๆ  ในโรงพยาบาล
-               บริการน้ำดื่มตามจุดต่าง  ๆ  ภายในโรงพยาบาล 
-               บริการจัดห้องประชุม  จัดสถานที่คลินิกพิเศษ
-               ช่วยบริการคลังยาวันราชการ เวลา 1300-1600
-               ร่วมออกบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
-               เป็นผู้ร่วมทีมการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาล/นอกโรงพยาบาล(กรณีออกรับผู้ป่วยฉุกเฉิน)

          ข้อจำกัด
                -   อัตรากำลังงานเคลื่อนย้าย OPD ช่วงบ่ายจะมี1คน จะไม่สามารถให้บริการส่งเวชภัณฑ์ตามจุดบริการต่างๆได้

ความต้องการของผู้รับผลงานภายนอกที่สำคัญ
ผู้ป่วยและญาติ   :  ผู้ป่วยได้รับการเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย  ถูกต้อง  รวดเร็ว  ด้วยความกระตือรือร้น  สุภาพด้วยความเสมอภาค  และปกป้องสิทธิผู้ป่วย
ความต้องการในการประสานงานภายในที่สำคัญ (ของหน่วยงานอื่นที่มีต่อหน่วยงานเรา)
  
ผู้รับผลงาน
ความต้องการของผู้รับผลงาน
การเงิน

งานธุรการ

-        ต้องการให้ส่งสรุป OTทันตามกำหนด โดยไม่ควรเกิน 10วันทำการและตรวจสอบรายละเอียดให้เรียบร้อยโดยเฉพาะรายเซ็นต้องครบทุกคน
-        ส่งงานให้ตรงเวลาที่กำหนด เช่นวันลา งานคุณภาพ
-        การเบิกเอกสารควรแจ้งล่วงหน้า
เวชกรรมฟื้นฟู

X-RAY







งานรักษาความปลอดภัย
-     ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงเตียงรับบริการอย่างปลอดภัย
-        กรณีผู้ป่วยมาขอยืมอุปกรณ์ที่ห้องกายภาพบำบัดให้รอรับผู้ป่วยกลับด้วย
-    ส่งผู้ป่วยมาเอกซ์เรย์แล้วหากไม่มีผู้ป่วยจุดต้อนรับ อยากให้มารอรับผู้ป่วยกลับคืนจุดบริการด้วย(ไม่ต้องให้บอก ไปเรียกทุกราย)
-        ส่งผู้ป่วยมาเอกซ์เรย์แล้ว(ต้องไปรับงานอื่น)ควรแจ้งบอกเจ้าหน้าที่เปลด้วยกัน จะได้มีการส่งงานได้ถูกต้อง
-        ส่งผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ เปลนอนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หากไม่เร่งด่วน ไปงานอื่นอยากให้ช่วยจัดท่าผู้ป่วยด้วย
-        จากที่เห็นส่งผู้ป่วยมาจากER  wardด้วยรถเข็นนั่ง,นอนส่งห้องX-ray แล้วเดินออกไปเฉย(ก็ไม่ทั้งหมด)อยากบอก
-   อยากให้เจ้าหน้าที่เวรเปลบางคน ขับขี่MC.เข้า-ออกรพร.ปฏิบัติตามระเบียบด้วย
อยากให้เจ้าหน้าที่เวรดึก ตอนเช้าช่วยปิดไฟบริเวณER.ให้ด้วยบางครั้ง รปภ.ปิดไฟอยู่ด้านหลัง กว่าจะมาถึง ER ก็จะสาย
หอผู้ป่วยใน  1
-        ควรมีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้ป่วยและญาติที่นำมาส่งแต่ละจุดบริการ ควรทราบชื่อผู้ป่วย
-        กรณีผู้ป่วยหญิงไม่มีญาติควรระวังเรื่องการเปิดเผยผู้ป่วย และการสัมผัสผู้ป่วยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการร้องเรียน
-        ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวล  และควรขึ้นเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเองไม่ควรใช้ญาติกรณีช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
หอผู้ป่วยใน  2

ทันตสาธารณสุข
เวชระเบียน

เภสัชกรรมชุมชน
อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน




-        การส่งผู้ป่วย  Admit  ขอความกรุณาส่งถึงข้างในตึก  ไม่ใช่ส่งแค่ประตู
-        ส่งผู้ป่วยเข้าในตึกกรุณาถอดรองเท้าด้วย
-        ต้องการให้ช่วยเคลื่อนย้ายผู้พิการหรือลำบากในการขึ้น-ลงบันไดห้องฟันตลอดไป
-        ขอบคุณเวรเปลทุกท่านที่ช่วยเดินบัตร แจ้งชื่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ทำให้ห้องบัตรลดระยะเวลาในการค้นบัตร เดินบัตรได้เร็วขึ้น
-        ตอนช่วงพักเที่ยงจะหาเวรเปลค่อนข้างยาก
-   ไปทำภารกิจตึกอื่นช่วยแจ้งER
ห้ามเล่นปิงปองในเวลาที่ปฏิบัติงานและควรอยู่ประจำตึกเมื่อไม่มีภารกิจ
ทำความสะอาดห้องรับประทานอาหารหลังใช้งาน อย่าเกี่ยงงานกัน
ควรมีน้ำใจให้เพื่อนร่วมงาน
ห้องคลอด
-   เรียกง่ายใช้คล่อง และขอบคุณสำหรับบริการน้ำดื่มของมารดาคลอดและเจ้าหน้าที่
เวชปฏิบัติครอบครัว
-   กรณีพบผู้ป่วยแล้วประเมินไม่ได้ ควรปรึกษาพยาบาลจุดคัดกรองประเมินก่อนส่งจุด
    บริการอื่นๆ
จุดOPDควรรับโทรศัพท์เร็วกว่านี้ เพราะที่เวชฯมองเห็นว่ามีเจ้าหน้าที่ แต่ไม่รับโทรศัพท์  
   บางครั้งเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน


ซ่อมบำรุง
-        บางครั้งหน่วยงานซ่อมบำรุงติดภารกิจ ไม่สามารถไปรับ เปลี่ยนถังออกซิเจนให้ผู้ป่วยได้ อยากขอแรงหน่วยงานเคลื่อนย้าย ช่วยเปลี่ยนให้ในบางโอกาส
งานผู้ป่วยนอก
-        ควรระวังพฤติกรรมบริการขณะอยู่ต่อหน้าผู้รับบริการ เช่น พูดจากันแรงๆ หยอกเย้ากัน การพูดเรื่องผลฟุตบอล
-        ก่อนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทุกครั้ง ต้องทวนสอบชื่อ-สกุลของผู้ป่วยให้ถูกต้องทุกครั้งเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการนำส่งผิดคน
-        จัดอัตรากำลังมาอยู่ห้องโถงเพื่อช่วยกิจกรรม เช่น เข็นผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ / Admitted

กรณีวันพระ /วันประชุมผู้ใหญ่บ้าน ผู้รับบริการมีจำนวนมาก ให้ช่วยจัดการเรื่องที่นั่งผู้ป่วยที่หน้าOPD จัดเรียกเข้าซักประวัติเป็นชุดๆ ตามคิว ทำให้ดูไม่แออัด
ศูนย์ประกัน
-ไม่มีครับ

ลักษณะสำคัญของงานบริการและปริมาณงาน

กิจกรรม
ปี 2553
ปี 2554
ปี 2555
-   บริการรถเข็นนั่ง               
13,738  ครั้ง
13,102ครั้ง
19,216
-   บริการรถเข็นนอน                  
12,690  ครั้ง
10,824ครั้ง
13,452
-   บริการส่งLAB                  
447 ครั้ง
421ครั้ง
813
-   บริการส่งยา
512  ครั้ง
816ครั้ง
358
-   บริการส่งเอกสาร
496  ครั้ง
852ครั้ง
741
-   ตามเจ้าหน้าที่
228  ครั้ง
826ครั้ง
411
-   บริการจัดห้องประชุม        
161  ครั้ง
49ครั้ง
52
-   บริการเปลี่ยนถังออกซิเจน
324  ครั้ง
584ครั้ง
603
-   บริการจัดคลินิกพิเศษ        
149 ครั้ง
-
-
-   บริการน้ำดื่ม
468  ครั้ง
540ครั้ง
720
-   บริการรับ – ส่งแพทย์
216  ครั้ง
198ครั้ง
176
-   บริการเครื่องมือแพทย์
276  ครั้ง
501ครั้ง
498
-   ออก EMS
39  ครั้ง
156ครั้ง
198
-   ช่วย CPR
12  ครั้ง
14ครั้ง
36
-   งานบริการอื่นๆ                 
na
49ครั้ง


ประเด็นคุณภาพ / ตัวชี้วัด 

ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
ตัวชี้วัดของประเด็นคุณภาพ
1. ด้านผู้รับบริการ

ได้รับบริการที่ปลอดภัย
-   อุบัติการณ์ผู้รับบริการบาดเจ็บจากการเคลื่อนย้าย
ผู้รับบริการพึงพอใจ
-   อัตราความพึงพอใจในพฤติกรรมบริการ
2. ด้านผู้ให้บริการ / องค์กร

มีความรู้เรื่องมาตรฐานการเคลื่อนย้าย
อัตราเจ้าหน้าที่ผ่านเกณฑ์ประเมินสมรรถนะในงาน

ความท้าทายและความเสี่ยงสำคัญ
1.     ความท้าทาย
-ความเพียงพอของอุปกรณ์เคลื่อนย้าย
- พนักงานเคลื่อนย้ายมีพฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ
              -พนักงานเคลื่อนย้ายสามารถซ่อมอุปกรณ์เคลื่อนย้ายอย่างง่ายได้
              -พนักงานเคลื่อนย้ายมีความเชี่ยวชาญในเคลื่อนย้าย/ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายได้ถูกต้อง
              -พนักงานเคลื่อนย้ายมีทักษะในการเตรียม การใช้อุปกรณ์เพื่อออกรับผู้ป่วยฉุกเฉินพร้อมทีมEMS ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมได้
              -พนักงานเคลื่อนย้ายมีทักษะในการเป็นผู้ช่วยทีมช่วยฟื้นคืนชีพ   
2.     ความเสี่ยงสำคัญ
-รถเข็นนั่งไม่เพียงพอพร้อมใช้งาน
-อุบัติการณ์ อุบัติการณ์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ถูกต้อง(ผิดจุดบริการ)
-อุบัติการณ์ผู้รับบริการบาดเจ็บจากการเคลื่อนย้าย
- อุบัติการณ์ไม่พบพนักงานเคลื่อนย้าย ในจุดบริการ
-เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิผู้ป่วยเรื่องการเปิดเผยผู้ป่วย
-อุบัติการณ์พนักงานเคลื่อนย้าย มีทักษะเคลื่อนย้าย/ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายไม่ถูกต้อง

3.     มาตรการจัดการความเสี่ยง

ความเสี่ยง

มาตรการจัดการ
รถเข็นนั่งไม่เพียงพอพร้อมใช้งาน
สำรวจความต้องการใช้ในแต่ละปีและสนอปริมาณที่ต้องการให้เพียงพอ
กรณีผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองได้บ้าง ให้เข็นผู้ป่วยไปส่งไว้และนำรถเข็นกลับเพื่อ
   เตรียมให้บริการผู้ป่วยรายอื่นต่อไป
-    ยืมอุปกรณ์เคลื่อนย้ายจากจุดบริการใกล้เคียง เช่น ER /OPD/กายภาพ
อุบัติการณ์ผู้รับบริการบาดเจ็บ
   จากการเคลื่อนย้าย
--อุบัติการณ์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ถูกต้อง
ทบทวนเทคนิกการเคลื่อนย้าย
-ประเมินผู้ป่วยและจัดอุปกรณ์เคลื่อนย้ายให้เหมาะสมกับประเภทผู้ป่วย
กรณีใช้รถนอน ควรจัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม เช่นผู้ป่วยหอบหืดควรนอนศีรษะ
   สูง และยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้ง ก่อนเคลื่อนย้าย
กรณีนั่งรถเข็นนั่งควรให้นั่งหลังชิดพนัก และวางเท้าในที่วางเท้าให้เรียบร้อย
   ก่อนเคลื่อนย้าย
-   อุบัติการณ์ไม่พบพนักงานเคลื่อนย้าย ในจุดบริการ
-       ทบทวนการจัดอัตรากำลังในช่วงเวลาให้เหมาะสม
-       CQI อยู่ไหนใครก็รู้
-เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิผู้ป่วยเรื่องการเปิดเผยผู้ป่วย
-ทบทวนความรู้เรื่องสิทธิผู้ป่วย
-จัดเตรียมผ้าคลุมคนไข้ให้มีในรถเข็นนอนทุกคัน และพร้อมใช้
-เมื่อผู้ป่วยขึ้นนอนรถเข็นนอนจะต้องคลุมผ้าทุกครั้ง
-ปิดม่านเวลาเข็นผู้ป่วยเพื่อรอทำกิจกรรมพยาบาล

-อุบัติการณ์พนักงานเคลื่อนย้าย มีทักษะเคลื่อนย้าย/ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายไม่ถูกต้อง
-ทบทวนเทคนิคการเคลื่อนย้าย / การผูกยึดผู้ป่วย
-ทบทวนทักษะการให้บริการ
ทบทวนเทคนิคการเคลื่อนย้าย อุปกรณ์การแพทย์ที่สำคัญและราคาแพงเช่น U/S   , เตียงผ่าตัด ,Defibrililater ที่ถูกวิธี

รายงานการทบทวนอุบัติการณ์ ปี2555หน่วยงาน เคลื่อนย้าย
-          จำนวนอุบัติการณ์
บัญชีความเสี่ยง
จำนวนอุบัติการณ์ปี55
AB
CD
EF
GHI
รวม
1. อุบัติการณ์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ถูกเทคนิก
-
-
-
-
-
 2.    อุบัติการณ์ด้านความปลอดภัยของพนักงานเคลื่อนย้าย
-
-
-
-
-
3.อุบัติการณ์ไม่มีพนักงานเคลื่อนย้ายที่ OPD ช่วง 11.10-13.00.
-
-
-
-
-
4.อุบัติการณ์ส่งผู้ป่วยและสิ่งของผิดจุดบริการ
-
-
-
-
-
รวม
-
-
-
-
-

แนวโน้มอุบัติการณ์ รวม
จำนวนครั้ง
ปี2553
2554
2555
1.อุบัติการณ์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ถูกเทคนิก
0
1
0
2.อุบัติการณ์ด้านความปลอดภัยของพนักงานเคลื่อนย้าย
0
1
0
3.อุบัติการณ์ไม่มีพนักงานเคลื่อนย้ายที่ OPD ช่วง 11.10-13.00.
NA
2
0
4.อุบัติการณ์ส่งผู้ป่วยและสิ่งของผิดจุดบริการ
0
1
0
รวม
1
5
0


วิเคราะห์แนวโน้มการเกิดอุบัติการณ์ เกิดอุบัติการณ์ไม่พบพนักงานเคลื่อนย้ายที่ จุดบริการOPD ช่วง 11.10-13.00.บ่อยขึ้นแต่ไม่รุนแรง เนื่องจากอัตรากำลังจะมีเพียง 1คน ลงพัก 1คน ถ้าเข้าไป admittก็จะไม่มีพนักงานเคลื่อนย้าย

ประเภทเหตุการณ์
จำนวนครั้ง แยกตามสาเหตุราก
การปฐมนิเทศ
ภาระงาน
สมรรถนะ
เครืองมือ

1. อุบัติการณ์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ถูกต้อง
-
-
-
-

2.อุบัติการณ์ส่งผู้ป่วยและสิ่งของผิดจุดบริการ
-
-
-
-

3.อุบัติการณ์ด้านความปลอดภัยของพนักงานเคลื่อนย้าย
-
-
-


4.อุบัติการณ์ไม่มีพนักงานเคลื่อนย้ายที่ OPD ช่วง 11.10-13.00.
-
-
-
-

รวม
-
-
-
-


ศักยภาพและข้อจำกัดในด้านผู้ปฏิบัติงาน  เครื่องมือ  เทคโนโลยี
1.พนักงานเคลื่อนย้ายทุกคน ผ่านการอบรมมาตรฐานการเคลื่อนย้ายและอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 100%
2.พนักงานเคลื่อนย้ายมีชั่วโมงการอบรมครบตามเกณฑ์ที่กำหนด
3.พนักงานเคลื่อนย้ายสามารถซ่อมอุปกรณ์เคลื่อนย้ายอย่างง่ายได้

ผู้ปฏิบัติงาน 
ประเภทของบุคลากร
จำนวนบุคลากรที่จำเป็น
จำนวนบุคลากรที่มีจริง
ส่วนขาด
การบริหารจัดการเมื่อบุคลากรไม่เพียงพอ
 ลูกจ้างประจำ
ลูกจ้างชั่วคราว
1
9
1
8
-
1
 ใช้อัตรากำลังพนักงานขับรถช่วยBD       ที่OPD

เครื่องมือ  เทคโนโลยี
ชนิดของเครื่องมือ
จำนวนเครื่องมือที่จำเป็น
จำนวนเครื่องมือที่มีจริง
ส่วนขาด
การบริหารจัดการเมื่อเครื่องมือไม่เพียงพอ
รถเข็นนั่ง
12
10
2 (คลินิกพิเศษ)
  ยืมจากหน่วยงานอื่น เช่น ER /กายภาพ
เปลนอน
7
7
-
    แยกสำหรับเข็นศพ1คัน
เปลตัก
3
3
-

เกย์ออกซิเจน
2
2
-

ถังออกซิเจนเล็ก
2
2
-


ประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
1.เข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในวันพุธ
2.ร่วมตรวจสุขภาพประจำปี
3.ปฎิบัติตามนโยบายด้านความปลอดภัยของโรงพยาบาล

กระบวนการสำคัญ (Key Processes)
กระบวนการสำคัญ
(Key Process)
ตัวชี้วัดของกระบวนการ
โอกาสพัฒนาและความเสี่ยง
การเตรียมความพร้อมสถานที่อุปกรณ์
 :จัดเรียงบัตรคิวแยกประเภทการนัดให้ชัดเจน
 :.ตรวจสอบความเพียงพอของออกซิเจนในแต่ละเวร
:ทำ5.และตรวจสอบอุปกรณ์เคลื่อนย้ายให้พร้อมใช้งาน

:อุบัติการณ์ความไม่พร้อมใช้ของบัตรคิว
:อุบัติการณ์รถเข็นนั่งไม่เพียงพอพร้อมใช้งาน
-บัตรคิวหาย ไม่เรียงตามเบอร์

การต้อนรับ
 บุคคลทั่วไป : ผู้ป่วย
 :สอบถามบริการเพื่อแยกประเภทบริการ
: ประเมินผู้รับบริการโดยพยาบาล OPD
 :แจกบัตรคิวกรณีมาตรวจโรคทั่วไป และแยกใบนัดพร้อมคิวนัดคลินิกต่างๆนำส่งจุดลงทะเบียน
   :กรณีฉุกเฉินแยกผู้ป่วยส่งER ทำบัตรทีหลัง


:อัตราความพึงพอใจในพฤติกรรมบริการ
:อุบัติการณ์ส่งผู้ป่วยผิดจุด



-พฤติกรรมบริการไม่เหมาะสมพูดคุยหยอกล้อขณะให้บริการ
-การคัดกรองผิดพลาด ส่งผู้ป่วยผิดจุดกรณีพยาบาลไม่อยู่
บริการเคลื่อนย้าย
 :หลังประเมินผู้ป่วยโดยพยาบาล ให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปตามจุดบริการ ต่างๆเช่น หน้าห้องตรวจ OPD     คลินิกพิเศษ  / IPD /LAB /ER /LR/ และอาคารไพศาล-เพ็ญศรี  สุขุมพานิช    ตามมาตรฐานการเคลื่อนย้าย
:   แนะนำผู้ป่วยเรื่องจุดบริการ

-อุบัติการณ์การเลือกใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสม
-อุบัติการณ์ผู้รับบริการได้รับบาดเจ็บจากการเคลื่อนย้าย
-อุบัติการณ์การละเมิดสิทธิผู้ป่วยเรื่องการเปิดเผยผู้ป่วย

-ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการเคลื่อนย้าย
-ไม่ตระหนักในหน้าที่ที่รับผิดชอบ
การจัดเก็บและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์
 :จัดเก็บบัตรคิวตามจุดบริการต่างๆและจัดเรียงเก็บเข้าที่ให้พร้อมใช้วันถัดไป
:เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์เคลื่อนย้ายก่อนจัดเก็บเข้าที่
:บำรุงรักษาอุปกรณ์เคลื่อนย้ายตามแผน ทุกพฤหัสที่2 และที่4 ของเดือน


-อุบัติการณ์ความไม่พร้อมใช้ของบัตรคิว
- -อัตราการบำรุงรักษาอุปกรณ์เคลื่อนย้ายตามแผน


-บัตรคิวหาย ไม่ตามเก็บ
-ไม่ได้ทำกิจกรรม 5.ประจำวัน
-ปฏิบัติไม่ถูกหลัก IC.ใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดรถเข็น
-ขาดการอบรมเทคนิคช่างซ่อมอย่างง่าย



การบันทึกกิจกรรม
-บันทึกกิจกรรมเคลื่อนย้ายทุกประเภททั้งผู้ป่วยและสิ่งของหลังให้บริการทุกเวร พร้อมให้หัวหน้าเวรเซนต์กำกับทุกครั้ง


-อุบัติการณ์การลงบันทึกกิจกรรมไม่ครบถ้วน

-การจัดเก็บข้อมูลล่าช้า
-ลงบันทึกกิจกรรมแต่ไม่complete เช่นไม่ลงปริมาณ ไม่ให้หัวหน้าเวรเซนต์กำกับ


กลุ่มประชากรทางคลินิกที่สำคัญ
กลุ่มประชากร
สิ่งที่ได้ดำเนินการ
-ผู้รับบริการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น เดินลำบาก / หอบหืด / อุบัติเหตุ  /ปวดท้องรุนแรง ฯลฯ



-นำผู้รับบริการส่งไว้ตามจุดและนำรถเข็นกลับ เพื่อให้บริการรถเข็นที่เพียงพอ




ข้อมูลตัวชี้วัดที่สำคัญของหน่วยงานย้อนหลัง 3 ปี

ตัวชี้วัด
เป้า
ผลงาน 3 ปีย้อนหลัง
2553
2554
2555
- อุบัติการณ์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ถูกเทคนิก
2
0
3
0
- อุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุของผู้ป่วยและพนักงานเคลื่อนย้าย(อุปกรณ์)
0
0
0
0
-อุบัติการณ์ผู้รับริการบาดเจ็บจากการเคลื่อนย้าย
0
1
1
0
-อุบัติการณ์การส่งผู้ป่วยและสิ่งของผิดจุดบริการ
0
0
1
0
- ร้อยละของพนักงานเคลื่อนย้ายได้รับการอบรมช่วยฟื้นคืนชีพ
100%
100
88.88%
100
-อัตราเจ้าหน้าที่ผ่านเกณฑ์สมรรถนะในงาน
90%
100
100
100
-อัตราเจ้าหน้าที่มีชั่วโมงการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนดเกณฑ์
90%
NA
     100
100
-อัตราความพึงพอใจของผู้รับริการ( ภายใน) ต่อคุณภาพบริการงานเคลื่อนย้าย
80%
NA
79.61%
77.7






กราฟ
การแปลผลและการใช้ประโยชน์  (แนวโน้มเป็นอย่างไร/เกิดจากอะไร/ได้ดำเนินการอะไรไปแล้ว/จะทำอะไรต่อ)
1.กราฟเปรียบเทียบตัวชี้วัดอุบัติการณ์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ถูกต้อง   การแปลผลจากกราฟอุบัติการณ์มีแนวโน้มลดลงเนืองจากมีการนิเทศใกล้ชิดและมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน




2.กราฟเปรียบเทียบตัวชี้วัดอุบัติการณ์การใช้อุปกรณ์เคลื่อนย้ายไม่เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย   การแปลผลจากกราฟอุบัติการณ์มีการจัดเก็บข้อมูล 2ปี อาจจะมีปัญหาในการจัดเก็บข้อมูล

            3.กราฟเปรียบเทียบตัวชี้วัดอุบัติการณ์ผู้รับบริการบาดเจ็บจากการเคลื่อนย้าย     การแปลผลจากกราฟอุบัติการณ์มีแนวโน้มสูงขึ้น มีการจัดเก็บข้อมูลได้ดีขึ้น มีแนวทางการ



            4.กราฟเปรียบเทียบตัวชี้วัดอุบัติการณ์การส่งผู้ป่วยและสิ่งของผิดจุดบริการ


            5.กราฟเปรียบเทียบตัวชี้วัดร้อยละของพนักงานเคลื่อนย้ายได้รับการอบรมช่วยฟื้นคืนชีพ(100%)


            6.กราฟเปรียบเทียบตัวชี้วัดอัตราเจ้าหน้าที่ที่ผ่านเกณฑ์สมรรถนะในงาน

CQI ที่ได้ดำเนินการแล้ว
1.  อยู่ไหน  ใครก็รู้

ชื่อหน่วยงาน   งานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ผู้ร่วมทีม        นายเขมชาติ  นายอินทนนท์  นายก้องเกียรติ  นายสุริยะ
หัวหน้าทีม     นายเขมชาติ  บุตรดีวงษ์
ปัญหา
ไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำหน้าเคาน์เตอร์งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน  ขณะที่พนักงานเคลื่อนย้ายไม่อยู่  เช่น ไป admitted ผู้ป่วยที่ ward  หรือไปส่งผู้ป่วย X-RAY  / ส่งLAB ฯลฯ  เวลามีผู้มารับบริการในงานเคลื่อนย้ายจะทำให้เกิดความล่าช้าทำให้คนไข้หรือญาติไม่พึงพอใจในการบริการ  และบางครั้งเจ้าหน้าที่ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ไม่ทราบว่าพนักงานเคลื่อนย้าย อยู่ที่ไหนทำให้เกิดมีปัญหา เรื่องการสื่อสาร และแนวทางการจัดอัตรากำลังสำรองประจำหน้าเคาน์เตอร์งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน  เช่น พนักงานขับรถ  หรือ EMT ขณะที่พนักงานเคลื่อนย้ายไม่อยู่

สาเหตุ
-       อัตรากำลังของพนักงานเคลื่อนย้ายมีจำกัด  เช่น เวลาพนักงานเคลื่อนย้ายออกไปปฏิบัติหน้าที่พร้อมกัน ทำให้ไม่มีอัตรากำลัง หน้าเคาน์เตอร์ งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน  คอยให้คำแนะนำในการรับบริการ
เป้าหมาย
-          ผู้รับบริการได้รับการบริการที่รวดเร็ว ปลอดภัย ญาติหรือผู้ป่วยพึงพอใจและมีความมั่นใจในการบริการ
-          เกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างบุคลากร
-          พนักงานเคลื่อนย้ายมีความสุขในการทำงาน
-          มีแนวทางในการจัด อัตรากำลังสำรองขณะที่พนักงานเคลื่อนย้าย ไม่อยู่
วิธีการพัฒนาแก้ไขปัญหา
-       คิดหาแนวทางการสื่อสารที่เข้าใจง่าย โดยมีการจัดทำป้ายบ่งชี้กิจกรรมที่ พนักงานเคลื่อนไปทำขณะที่ไม่อยู่ที่หน้าเคาน์เตอร์ งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน  เช่น  X-RAY  /  LAB  / LR  /  IPD ฯลฯ
-       จัดทำที่แขวนป้ายที่เจ้าหน้าที่ในห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน  มองเห็นง่าย ชัดเจน  โดยใช้จุดบริเวณด้านล่างที่แขวนป้าย  E-chart
-       หลังได้รับการกดออดเรียกหรือ รับโทรศัพท์ตามไปทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย จะมีการนำป้ายกิจกรรมหรือหน่วยงานที่ไป ไปแขวนที่จุดสื่อสาร
-       ลงบันทึกการทำกิจกรรมของพนักงานเคลื่อนย้ายในการออกปฏิบัติงาน หลังปฏิบัติภารกิจเรียบร้อยในสมุดบันทึกกิจกรรมงานเคลื่อนย้าย และนำป้ายที่แขวนออก  พร้อมปฏิบัติงานประจำจุด ER
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.ผลทางตรง 
มีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำหน้าเคาน์เตอร์งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน  ตลอดเวลา
-   ผู้รับริการได้รับบริการที่รวดเร็ว  ปลอดภัย
-   มีแนวทางการจัดอัตรากำลังสำรองที่ชัดเจน
       2.ผลทางอ้อม 
-   เกิดความสามัคคีในหน่วยงาน
-       ผู้รับบริการพึงพอใจในการบริการ
-       พนักงานเคลื่อนย้ายมีความสุขในการทำงาน

      3 . ผลเชิงกระบวนการ 
-          มีการทบทวนการจัดอัตรากำลังและแนวทางการสื่อสารอย่างง่ายๆ เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่เข้าใจ และผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ และไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงาน
      
ปัญหาอุปสรรค 
-          ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือพยาบาลรับโทรศัพท์ ที่หน้าเคาน์เตอร์ ตอนพนักงานเคลื่อนย้ายไม่อยู่
-          อัตรากำลังสำรองมี จำกัด
-          ทุกคนมีหน้าที่การงานที่แตกต่างกัน 
แนวทางการพัฒนาต่อไป  
      จะเพิ่มการดำเนินการ อยู่ไหน ใครก็รู้ ที่จุดผู้ป่วยนอก เพื่อเป็นการพัฒนาระบบงานเคลื่อนย้ายให้มีคุณภาพมากขึ้น

                             
2.  ฝากไว้ ไม่มีหาย

ชื่อหน่วยงาน งานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ผู้ร่วมทีม      นายวีระชัย  นายธีรยุทธ  นายคุณาวุฒิ  นายขัตติย  นายไพฑูรย์
หัวหน้าทีม    นายวีระชัย พรหมรักษา
ปัญหา
-       คนไข้ที่มารับบริการผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับขา หรือการเดินส่วนมากคนไข้จะมีไม้เท้า(หรือไม้ค้ำยัน)มาด้วยทุกครั้งไป เมื่อรับบริการก็จะทำให้ไม่สะดวกในการรับบริการรักษา  เพราะว่าไม่มีที่เก็บอุปกรณ์ดังกล่าวทำให้เกะกะและไม่สะดวกถ้าวางทิ้งไว้อาจสูญหายได้ ฉะนั้นจึงได้คิดแนวทางการจัดเก็บรักษาอุปกรณ์ดังกล่าวหรือสิ่งของอื่นๆที่ฝากไว้
สาเหตุ
-       มีปัญหาเรื่อง5
-       สิ่งของที่วางไว้อาจสูญหาย
เป้าหมาย
-          ผู้รับบริการมีที่ฝากเก็บรักษาอุปกรณ์ หรือสิ่งของอื่นๆ เวลาเข้ารับบริการ
-          เป็นระเบียบเรียบร้อย  ไม่สูญหาย
-          ลดความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยขณะข็นผู้รับริการ
-          มีมาตรฐานในการบริการ ของพนักงานเคลื่อนย้าย
วิธีการพัฒนาแก้ไขปัญหา
-       จัดที่เก็บรักษาอุปกรณ์ให้ผู้รับริการ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ในจุดที่เหมาะสม เช่น หน้าตึก OPD ตรงช่องเคาน์เตอร์ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เพราะเป็นจุดแรกที่ของผู้มารับบริการ
วิธีการ   
-          ทำที่แขวนไม้เท้าให้ผู้รับริการ โดยใช้เหล็กราวเจาะติดกับผนังหน้าตึก OPD ตรงที่เคาน์เตอร์ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
-          จะมีป้ายหมายเลข 1,2,3,4,5 ติดไว้ที่จุดแขวน และมีสติกเกอร์ไ 2 ใบ โดย1ใบจะให้กับผู้ป่วยที่เป็นเจ้าของไม้เท้าและอีก 1 ใบ จะติดไว้ที่ไม้เท้าของผู้มารับบริการ
-          เมื่อคนไข้หรือผู้มารับบริการทำการตรวจหรือรับบริการเสร็จแล้ว ก็จะมารับไม้เท้าคืนโดยการแสดงบัตรหมายเลขที่ได้รับมอบก่อนรับบริการ ให้ดูว่าเป็นไม้เท้าอันไหนหรือตรงหมายเลขใดก็รับไม้เท้าคืนได้ โดยที่จะไม่มีการลืมหรือสูญหายและเกิดความถูกต้อง
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.ผลทางตรง 
-     ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
-   ไม่ลืม ไม่สูญหาย
-   ไม่เกิดอุบัติเหตุและได้รับความปลอดภัย
-   ไม่เป็นภาระของคนไข้เวลารับบริการ ซึ่งยังคอยห่วงว่าจะลืมหรือหาย และต้องได้ถืออีกต่อไป
2. ผลทางอ้อม 
-   เกิดความสามัคคีในหน่วยงาน
เกิดความตระหนักและใส่ใจผู้รับบริการ
3.  ผลเชิงกระบวนการ  ลดความเสี่ยงของผู้รับบริการเรื่องความปลอดภัยจากการเคลื่อนย้าย ขณะเคลื่อนย้ายจากจุดบริการหนึ่งไปยังจุดบริการอื่น
      
ปัญหาอุปสรรค 
-          ไม่มีพนักงานเคลื่อนย้าย / เจ้าหน้าที่หรือพยาบาลอยู่ที่จุดคัดกรองตลอดเวลา
-          อัตรากำลังสำรองมี จำกัด
แนวทางการพัฒนาต่อไป  เมื่อมีรถเข็นนั่ง เปลนอน ชำรุด ให้ช่างหรืองานซ่อมบำรุงมาแนะนำบำรุงรักษาอุปกรณ์การเคลื่อนย้ายเบื้องต้นแก่พนักงานเคลื่อนย้าย

                           
การทบทวน 12 กิจกรรม
1.       การทบทวนคำร้องเรียน(เช่น   1. พฤติกรรมบริการ  2.  ระบบบริการ  3.  คุณภาพการดูแลรักษา   4.  สิ่งแวดล้อม / ความปลอดภัย  5. สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรม  6.การสื่อสาร ไม่มี

2.  การค้นหาและป้องกันความเสี่ยง
      วิธีการ ค้นหาความเสี่ยงจากรายงานอุบัติการณ์ประจำเดือน ในโปรแกรมHosxp. และจากการ Quick Round งานเคลื่อนย้าย ซึ่งพบว่าเป็นความเสี่ยงที่ไม่รุนแรง (ระดับ A/B) จะนำมาแจ้งในเวทีการประชุมประจำเดือนและหาแนวทางแก้ไข
ความถี่  ประชุมประจำเดือนทุกเดือน
ผู้เข้าร่วม   พนักงานเคลื่อนย้ายทุกคน
ปัญหาที่พบ  ไม่มีการรายงานอุบัติการณ์

3.การทบทวนการใช้ทรัพยากร  :   การใช้เครื่องมือ
วิธีการ การใช้ และการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์การแพทย์ที่สำคัญและราคาแพงเช่น U/S   , เตียงผ่าตัด ,Defibrililater จะมีการทบทวนเทคนิคการเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีปีละ1 ครั้ง  เพื่อเป็นการป้องการการซำรุดของเครืองมือก่อนเวลาอันสมควร และเป็นการประหยัดงบประมาณในการใช้จ่ายเรื่องการซ่อมแซม โดยเจ้าของจุดบริการเครื่องมือชนิดนั้นเป็นผู้สาธิต
ความถี่  ปีละ1ครั้ง
ผู้เข้าร่วม   พนักงานเคลื่อนย้ายทุกคน
ความครอบคลุมของกลุ่มเป้าหมาย พนักงานเคลื่อนย้ายทุกคนได้รับการสาธิตและฝึกปฏิบัติ
ผลลัพธ์จากการทบทวน พนักงานเคลื่อนย้ายเคลื่อนย้ายอุปกรณ์การแพทย์ถูกวิธี

4การติดตามเครื่องชี้วัดสำคัญ
วิธีการ   มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบเป็นรายบุคคล ในการติดตามเก็บตัวชี้วัดและนำเสนอในที่ประชุมประจำเดือนทุกเดือน
   ความถี่  เดือนละ1ครั้ง
   ผู้เข้าร่วม   พนักงานเคลื่อนย้ายที่รับผิดชอบ
ปัญหาที่พบ  บางครั้งไม่มีข้อมูล ทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลลำบาก


แผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานความต้องการฝึกอบรมของหน่วยงาน


เรื่อง
กลุ่มเป้าหมาย
ประเภท
ผู้จัดการอบรม
งบประมาณ
ภายใน
ภายนอก
1.การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

พนักงานเคลื่อนย้าย
ü

ER
-
2.อบรมปฏิบัติการเทคนิคการเคลื่อนย้าย / การผูกยึด
พนักงานเคลื่อนย้าย
ü

ER
-
3.ทักษะการให้บริการ

พนักงานเคลื่อนย้าย
ü

คุณเปรมศรี
-
4.การทำการเกษตรแบบพอเพียง ” การเสริม
สร้างความรู้และทักษะการขยายพันธุ์พืช  การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการจัดการขยะอินทรีย์ ”

พนักงานเคลื่อนย้าย

ü
องค์กรภายนอก
10,000  บาท
5.อบรมหลักสูตรเวชกิจฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน EMTB 110 ชม

พนักงานเคลื่อนย้าย

ü
    สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน
                   5,000 บาท


แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
S3พัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและมีความสุข

เครื่องชี้วัดระดับโรงพยาบาล(หลัก/รอง)

เครื่องชี้วัดของหน่วยงาน

ระดับ
ที่ปฏิบัติได้(2554)
เป้าหมาย
โครงการ/วิธีดำเนินการ
ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับริการ

-คะแนนความพึงพอใจในพฤติกรรมบริการงานเคลื่อนย้าย
-คะแนนประเมินคุณภาพบริการเฉพาะบุคคลงานเคลื่อนย้าย

79.63%

84.20%
85%

85%
:ทบทวนทักษะการให้บริการ
:ทบทวนแบบประเมินคุณภาพบริการเฉพาะบุคคลและดำเนินการประเมินทุก 6เดือน
อัตราบุคลากรมีสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนด
: อัตราเจ้าหน้าที่ผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถนะในงาน
: จำนวนชั่วโมงที่ได้รับการฝึกอบรมตามเกณฑ์
: อุบัติการณ์การช่วยฟื้นคืนชีพไม่ถูกต้อง
: อุบัติการณ์การเคลื่อนย้ายไม่ถูกเทคนิก

NA

100%
0
3
80%

100%
0
2
: จัดทำแนวทางการประเมินสมรรถนะในงาน (Functional  competency )

:ทบทวนเทคนิคการเคลื่อนย้ายในการประชุมประจำเดือน
:อบรมหลักสูตรเวชกิจฉุกเฉินขั้นพื้นฐานEMTB
 



รายละเอียดของโครงการ
โครงการ/วิธีดำเนินการของหน่วยงาน
ระยะเวลาดำเนินการ
งบประมาณ
ผู้รับผิดชอบ
..
..
มี..
เม.
..
มิ..
..
..
..
..
..
..
1.อบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
n
n
n








n
-
นางพรพิไล
2.ทบทวนเทคนิคการเคลื่อนย้าย / การผูกยึดผู้ป่วย
n
n
n








n
-
นางสุขใจ
3.ทบทวนทักษะการให้บริการ




n







-
นางเปรมศรี
4.การทำการเกษตรแบบพอเพียง ” การเสริม
สร้างความรู้และทักษะการขยายพันธุ์พืช  การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการจัดการขยะอินทรีย์ ”






n





10,000
ENV
5.อบรมหลักสูตรเวชกิจฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน EMTB 110 ชม



n









5,000
สพฉ
6.อบรมทบทวนซ้อมแผนรองรับอุบัติเหตุหมู่










n


พ.เจษฎา/คุณพรพิไล
7.อบรมเชิงปฏิบัติการณ์การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล











n

พ.สุขุมาล/ณํฐิยา/สุวรรณี
8.โครงการทดสอบการล้างมือ











n

เฉลิมเกียรติ/ปาริชาต/ศุกล
9.โครงการเสริมทักษะชีวิตในกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว













อรอุมา/นิตยา
10.อบรมหัวหน้าฝ่าย/งานในการคำนวนหาอัตรากำลังที่ถูกต้อง



n









อัญชลี
11.โครงการพัฒนาจิต lead 2/3













เปรมศรี/อัญชลี

12.ฝึกอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
n










n

เดชา/ภานุ
13.ทบทวนเทคนิคการเคลื่อนย้าย อุปกรณ์การแพทย์ที่สำคัญและราคาแพงเช่น U/S   , เตียงผ่าตัด ,Defibrililater ที่ถูกวิธี



n